หลังจากที่มีการพูดถึง excess death ในข่าว “หวั่นผลข้างเคียงวัคซีน ภาพรวมตายเยอะกว่าปีก่อน ห่วงเด็กยังฉีดทั้งที่ไม่จำเป็น” ซึ่งถ้าจะอ่านรายละเอียดมากกว่าในข่าวให้เข้าไปดูที่โพสต์นี้ครับ “Excess Death ทำไมคนตายมากขึ้น?”
ท่านอธิบดีกรมควบคุมโรคกรุณาแถลงเกี่ยวกับความกังวลดังกล่าว ผมขอตอบท่านเป็นข้อๆดังนี้ครับ
ท่านบอกว่า เดลต้า กระทบระบบบริการ เดลต้าระบาดปีที่แล้วครับ ถ้าเป็นผลจากเดลต้าควรจะเกิดขึ้นปีที่แล้วครับ ตัวเลขที่ผมตั้งคำถามคือ ตัวเลขการเสียชีวิตของคนไทย ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ เดือนที่ผ่านมานี่เองครับ ท่านรองอธิบดีอ้างถึงการตายส่วนเกินในผู้สูงอายุ ในปี ๖๓ ๖๔ ซึ่งยิ่งทำให้ ต้องตั้งคำถาม เพราะ ปีนี้ ปี ๒๕๖๕ การตายส่วนเกิน สูงกว่า ปี ๒๕๖๔ ครับ ผมมีกราฟให้ดูด้วยครับ จะเห็นว่าในเดือนตุลาคมปีนี้ ในผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๑ ปีขึ้นไป ปีนี้เสียชีวิตมากกว่าปี ๒๕๖๔ ชัดเจน ที่สำคัญสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี ๖๑-๖๓ ด้วย
ผมเอากราฟแสดงข้อมูลการเสียชีวิตรายเดือนของแต่ละปีมาให้ดูด้วยครับ จะเห็นว่าเส้นสีน้ำตาล (ปีนี้ ๒๕๖๕) กับเส้นสีน้ำเงิน (ปี ๒๕๖๔) สูงกว่าปีอื่นๆอย่างมาก หากพิจารณาเฉพาะปี ๖๔ เทียบกับ ๖๕ ก็จะเห็นชัดว่ามีแค่สองเดือนครับ คือเดือน กรกฎา กับสิงหา ที่จำนวนผู้เสียชีวิตของคนไทยในปี ๖๔ สูงกว่าปี ๖๕ โดยสองเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการระบาดหนักของเดลต้า ปี ๖๕ เดลต้าไม่มีแล้วอัตราการเสียชีวิตจากโควิดลดลงมากเอาข้อมูลของ กรมควบคุมโรคมาให้ดูด้วยข้างล่าง
และถ้าลองดูเป็นรายปี ผมทำเป็นปีงบประมาณ (ตค-กย) เพื่อจะได้เอาข้อมูลเดือนตคที่ผ่านมาเทียบเป็นรายปีให้ดูได้ จะเห็นชัดเจนตามกราฟข้างล่างครับว่า ปีนี้ (ปีงบประมาณ พศ ๒๕๖๕) มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด อัตราการเสียชีวิดโดยรวมนี้ ถือเป็น ตัวชี้วัดสำคัญ ในการประเมินนโยบายสาธารณสุขของประเทศครับ คำถามคือ นโยบายข้อใดที่ ทำให้เกิดผลเช่นนี้?
กราฟสุดท้ายคือจำนวนโดสของวัคซีนที่ฉีดรายวันครับ ลองดูครับพอฉีดมากสักพักอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจะขึ้นตาม ที่น่าสนใจคือ จากข้อมูลในต่างประเทศพบว่า ผลเสียของวัคซีนจะเห็นชัดเจนประมาณห้าเดือนหลังจากที่ฉีดครับ
ท่านบอกว่า การศึกษาในประเทศอื่นไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับการเสียชีวิต คำถามคือ การศึกษาในประเทศไหนครับ อย่าแค่อ้างกรุณาเอาข้อมูลดูครับ เอาง่ายๆ การศึกษาในประเทศไทย พบว่า ในเด็กที่ได้รับ mRNA (ซึ่งที่จริงควรเรียกว่ายีนของไวรัส) เข็มสองมีอัตราการเป็นหัวใจอักเสบ 1 ใน 43 ครับ หัวใจอักเสบที่ทำให้เสียชีวิตได้ครับ อันนี้แค่ผลข้างเคียงเดียว ไม่พูดถึงปัญหาจากมะเร็ง ที่มีงานวิจัยอธิบายกลไกที่ mRNA ไปมีผลต่อการเกิดมะเร็ง หรือ การที่ mRNA ไปมีผลต่อภูมิคุ้มกัน จนทำให้ติดเชื้อรุนแรง วัณโรคกำเริบ หรือเป็นภูมิแพ้ ผื่นคัน ฯลฯ ถ้าอยากได้งานวิจัยเหล่านี้ผมยินดีส่งให้ครับ
นอกจากนี้ท่านยังบอกว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการลดการเสียชีวิตถึงหลายแสนราย รบกวนเอาวิธี “คำนาณ” ตัวเลขดังกล่าวมาให้ดูหน่อยครับ เพราะการ “คิดเลข” แบบนี้ขึ้นอยู่กับ “ข้อสรุป” หรือ เงื่อนไข ต่างๆที่ใช้ครับ ถ้าเงื่อนไขผิด ผลก็เชื่อถือไม่ได้ครับ ที่สำคัญท่านไม่ให้ความสำคัญกับผลจาก การรักษาที่ดีขึ้น จากการที่เชื้อลดความรุนแรงลง หรือจากการที่คนส่วนใหญ่ติดเชื้อจนมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเลยหรือครับ ทำไมจงใจจะยกความดีความชอบให้กับบริษัทยาเท่านั้น
สุดท้าย ผมตั้งคำถามว่า ทำไม ยังเชียร์ให้เด็กๆไปรับวัคซีนอยู่ ท่านบอกเองว่า ให้กลุ่มเสี่ยงเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือ ข้อมูลของท่านเองระบุว่า เด็กไทย กลุ่มอายุน้อยกว่า 10 ปี เสียชีวิตจากโควิดต่ำ เพียง 13 รายในประชากรล้านคน และเด็กที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีโรคอื่นร่วม ไม่ใช่เด็กปกติที่แข็งแรง ดังนั้นทำไมต้องฉีดเด็กปกติด้วย ที่สำคัญตอนนี้เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการไปแล้ว มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติไปแล้ว มีความจำเป็นอะไรที่ต้องฉีดวัคซีนซ้ำ วัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่เชื้อไม่ได้ จะฉีดเพื่อป้องกันปู่ย่าตายาย ก็ไม่มีข้อมูลสนับสนุน สุดท้ายวัคซีนที่เอามาฉีดเด็กๆตอนนี้นั้น คือวัคซีนกันเชื้อ อู่ฮั่น ไม่ใช่เชื้อโอมิครอนที่ระบาดอยู่ตอนนี้ วัคซีนตกรุ่นแบบนี้เอามาฉีดให้เด็กๆไปทำไมครับ
ผมเคยเรียนแล้วว่ายินดีเอาข้อมูลไปให้ หรือ ถ้าจะมีการประชุมหารือกันเรื่องนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กๆก็ยินดีครับ ติดต่อมาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์มาได้เลยครับ ผมรออยู่
การทดลองที่เอามาใช้ในการพิจารณาอนุญาตให้ฉีดไฟเซอร์ ในเด็กเล็ก 6 เดือนถึง 5 ปี